ในการเตรียมความพร้อมทางวิชาการให้กับเด็ก
นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน การอ่านหนังสือตำราเรียน
การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาการแล้ว
การเรียนพิเศษสำหรับเด็กประถมและมัธยมศึกษา
นับเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่สำคัญอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนพิเศษสำหรับเด็ก
ส่วนใหญ่ผู้ปกครองยังให้ความสำคัญในการเตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อในระดับต่างๆ เช่นการสอบเข้าระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ของกลุ่มโรงเรียนในเครือคาทอลิก เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนอัสสัมชัญคอนเวนต์, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์
ในกลางกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนในย่านการค้าในแต่ละจังหวัด
ในกรุงเทพมหานคร โรงเรียนในเครือสาธิตของมหาวิทยาลัย เช่น สาธิตจุฬา
สาธิตเกษตร
อัตราการแข่งขันสูงมากจนทำให้ต้องจัดการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเพื่อการสอบแข่งขัน
ท่ามกลางการต่อต้านจากกระแสสังคมที่ควรใช้วิธีการคัดเลือกที่แตกต่างและสร้างสรรค์
กว่าการจัดทดสอบทางวิชาการ
ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนที่ได้รับความนิยมเป็นโรงเรียนในภาครัฐบาล เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด
ในส่วนกรุงเทพมหานคร
จะมีโรงเรียนในกลุ่มที่ผู้ปกครองให้ความนิยมจากประวัติอันยาวนานและความมีชื่อเสียง
ซึ่งเรียกกันว่ากลุ่มโรงเรียนดัง เช่น สวนกุหลาบ สตรีวิทยา สามเสนวิทยาลัย
และบดินทรเดชา การเตรียมตัวสอบเริ่มเข้มข้นขึ้น
จะว่าไปในประเทศของเรานั้นก็มีการสอบแข่งขันทางวิชาการมากมายในหลายสขาวิชา ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ซึ่งสนามสอบที่เป็นที่รู้จักกันเป็นวงกว้างในด้านการศึกษาคงหนีไม่พ้นสนามสอบของหน่วยงานของสพฐ.
การที่เราจะส่งเสริมเด็กคนหนึ่งให้เกิดทักษะที่ก้าวไปไกลกว่าคนอื่น
เห็นทีว่าการแข่งขันภายในประเทศจะไม่เพียงพอเสียแล้ว
ยิ่งเด็กได้เข้าร่วมแข่งขันในระดับที่ใหญ่ขึ้นมากเท่าไหร่
โอกาสที่เด็กจะขึ้นไปยังจุดที่สูงขึ้นก็มีมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นการสอบแต่ละสนามจะเป็นเครื่องช่วยยืนยันความสามารถและเป็นพอร์ตในการสะสมผลงานให้เด็กบรรลุยังจุดหมายในอนาคต เราจึงจะพาไปรู้จักกับสนามสอบแข่งขันวิชาการนานาชาติ สพฐ. กันค่ะ
สพฐ. คือใคร
ก่อนจะไปทำการรู้จักการสอบแข่งขัน
มาทำความรู้จักกับ สพฐ. กันก่อนค่ะ เชื่อแน่ว่าหลายคนเคยได้ยินชื่อนี้
แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วหน่วยงานนี้มีความรับผิดชอบอะไรบ้าง สพฐ.
หรือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งจะครอบคลุมการดูแลการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
โดยหน้าที่จะทำการเสนอนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้ด้อยโอกาส
อย่างในเรื่องของการสอบแข่งขัน
ในแต่ละปี สพฐ.จะดำเนินการสอบแข่งขันวิชาการมากมายหลายสนาม
โดยเฉพาะสนามสอบวิชาการนานาชาติ เช่น สนามสอบ IMSO (International Mathematics and Science Olympiad of Primary School) ที่จะเฟ้นหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันวิชาการในเวทีระดับโลก ทั้งนี้ สพฐ. มีเป้าประสงค์เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ พัฒนาความสามารถทางวิชาการผ่านการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ รวมถึง การพัฒนาต่อ ยอดเชื่อมโยงจากการแข่งขันทางวิชาการสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
การสอบการแข่งขันวิชาการนานาชาติเป็นอย่างไร
การสอบ สพฐ. หรือ การสอบแข่งขันวิชาการนานาชาติ ซึ่งเป็นการจัดสอบที่อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สู่สากล ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นการสอบแข่งขันวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้การสนับสนุน เนื่องจากผลการสอบ สพฐ.จะเป็นที่ยอมรับของโรงเรียนชั้นนำในการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา
ซึ่งนักเรียนที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
จะได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย
ไปสอบแข่งขันคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ที่ต่างประเทศ โดยการจัดสอบจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
รอบแรก ระดับพื้นที่เขตการศึกษาของสพฐ. จะมีอยู่ประมาณ 2 – 3 เขตในแต่ละจังหวัด จะจัดสอบที่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งในเขตการศึกษา นักเรียนต้องสมัครสอบผ่านทางโรงเรียน ซึ่งจะเปิดรับนักเรียนชั้นป.4 – ป.6 โดยนักเรียนสามารถเข้าร่วมได้เพียง 1 วิชาเท่านั้น
รอบสอง ระดับประเทศ จะมีจัดสอบในบางจังหวัด แต่ละภาคจะมีศูนย์สอบ 2 – 6 แห่ง โดยจะต้องเป็นนักเรียนที่ผ่านการสอบในระดับพื้นที่เขตการศึกษามาก่อนและได้เหรียญทองหรือเงิน
รอบสาม ระดับค่ายวิชาการ จะต้องเป็นนักเรียนที่ผ่านการสอบรอบสองและได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายอบรมความรู้และคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศ
ซึ่งจะต้องได้รับการประเมินระดับดีในช่วงระหว่างการเข้าค่าย โดยจะต้องมีเวลาในการเรียนในค่ายและอยู่ในค่ายอย่างละไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนและเวลาอยู่ค่าย
แนวข้อสอบ สพฐ. นานาชาติ
- คณิตศาสตร์ สพฐ. นานาชาติ
- วิทยาศาสตร์ สพฐ. นานาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น