สิ่งที่ทำให้เราพ่อแม่ในหลายๆครอบครัว จำเป็นต้องให้ลูกเรียนโรงเรียนอนุบาลวิชาการก็คือ
1.ไม่มีทางเลือก เพราะใกล้บ้าน
2.ความกลัวว่าลูกจะไม่ทันเพื่อน กลัวสอบเข้าโรงเรียนดีๆไม่ได้ในชั้นประถม มัธยม เพราะกว่าจะเห็นผลต้องรอเป็นปีๆ
3.นโยบายรัฐก็สนับสนุน แต่การประเมินมันสวนทางกัน
4.ความเหลื่อมล้ำมันยังมีมาก โรงเรียนดีๆมีไม่พอ โรงเรียนใกล้บ้านก็ไม่ดี
แต่จากงานวิจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เด็กๆแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการอัดเรียนตั้งแต่เล็กๆ เมื่ออยู่ในระดับประถมปลาย แต่มันกลับส่งผลเสียในระยะยาว โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตของเด็กๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว
1.ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย(เด็กเล็ก) มากกว่า 130 คน ให้ความเห็นว่า เด็กเล็กควรเรียนแบบ Play-based เรียนรู้ผ่านการเล่น และเริ่มเรียนอ่านเขียนจริงจังกันตอน 7 ขวบ
2. ในปี 2004 มีงานวิจัยในเด็ก 3,000 คน ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ พบว่ายิ่งเราเพิ่มเวลาเล่นให้กับเด็กในวัยอนุบาล จะยิ่งเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพที่ดีมากขึ้นให้กับเด็กๆเมื่อเค้าขึ้นไปสู่ระดับประถม
3. ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีการเปรียบเทียบเด็กที่เริ่มต้นเรียนแบบจริงจัง ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ กับเด็กที่เริ่มตอนอายุ 7 ขวบ พบว่า การเริ่มต้นเร็วที่อายุน้อยไม่ได้ช่วยให้ทักษะในการอ่านของเด็กๆดีขึ้น และผลที่ได้คือเมื่ออายุประมาณ 11 ปี ความสามารถในการอ่านของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่เริ่มต้นเร็ว (5 ขวบ) จะมีทัศนคติต่อการอ่านหนังสือน้อยกว่า และ ทักษะในการจับใจความจะแย่กว่า
4. จากการสำรวจผลสัมฤทธิ์ ในการอ่านของเด็กอายุ 15 ปี ใน 55 ประเทศ พบว่าการเริ่มต้นเรียนเร็ว เริ่มต้นอ่านเขียนตั้งแต่เล็ก ไม่มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าเด็กๆ ได้ประโยชน์อะไรเมื่ออายุ 15 ผลที่ได้ไม่ต่างกันในเรื่องการอ่าน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ เด็กมีความกังวลใจ ความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตที่มากกว่า
5.ตัวอย่างประเทศเช่น สวีเดนหรือฟินแลนด์ ที่เริ่มต้นเรียนกันจริงจัง ในชั้นประถม เด็กๆก็มีผลการเรียนที่ดีกับสุขภาพกายและใจที่ดีด้วย
6. เวลาที่เราสอนเด็ก อ่าน เขียน คิดเลข ที่เราใช้ฝึกในเด็กอนุบาล คือ 3 ปี แต่ถ้าเรามาฝึกในชั้น ป.1 ใช้เวลาเพียง ครึ่งปี หรือ 1 ปี แล้วแต่เด็ก
7.ร่างกาย สมอง ของเด็กๆ ยังไม่พร้อมโดยเฉพาะมือ เมื่อยังไม่พร้อม เด็กก็จะเหนื่อยกว่าเดิมหลายเท่า ยิ่งบังคับกัน สารพิษในสมองก็ยิ่งหลั่ง ทั้งพ่อทั้งแม่และทั้งลูก
สุดท้ายถ้าเราเลือกไม่ได้จริง ตกเย็นกลับจากโรงเรียน สิ่งดีที่สุดคือปล่อยให้ลูกเล่น พาลูกเล่น อย่าพาไปเรียนพิเศษ ขอการบ้านน้อยๆ จากโรงเรียน (เด็กตัวแค่นี้จะเอาอะไรกันนักหนา)
ชม เชียร์ และเชื่อมั่นในตัวลูก อย่าให้อยู่แต่หน้าจอ ก็น่าจะพอช่วยได้ครับ
1.ไม่มีทางเลือก เพราะใกล้บ้าน
2.ความกลัวว่าลูกจะไม่ทันเพื่อน กลัวสอบเข้าโรงเรียนดีๆไม่ได้ในชั้นประถม มัธยม เพราะกว่าจะเห็นผลต้องรอเป็นปีๆ
3.นโยบายรัฐก็สนับสนุน แต่การประเมินมันสวนทางกัน
4.ความเหลื่อมล้ำมันยังมีมาก โรงเรียนดีๆมีไม่พอ โรงเรียนใกล้บ้านก็ไม่ดี
แต่จากงานวิจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เด็กๆแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการอัดเรียนตั้งแต่เล็กๆ เมื่ออยู่ในระดับประถมปลาย แต่มันกลับส่งผลเสียในระยะยาว โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตของเด็กๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว
1.ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย(เด็กเล็ก) มากกว่า 130 คน ให้ความเห็นว่า เด็กเล็กควรเรียนแบบ Play-based เรียนรู้ผ่านการเล่น และเริ่มเรียนอ่านเขียนจริงจังกันตอน 7 ขวบ
2. ในปี 2004 มีงานวิจัยในเด็ก 3,000 คน ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ พบว่ายิ่งเราเพิ่มเวลาเล่นให้กับเด็กในวัยอนุบาล จะยิ่งเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพที่ดีมากขึ้นให้กับเด็กๆเมื่อเค้าขึ้นไปสู่ระดับประถม
3. ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีการเปรียบเทียบเด็กที่เริ่มต้นเรียนแบบจริงจัง ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ กับเด็กที่เริ่มตอนอายุ 7 ขวบ พบว่า การเริ่มต้นเร็วที่อายุน้อยไม่ได้ช่วยให้ทักษะในการอ่านของเด็กๆดีขึ้น และผลที่ได้คือเมื่ออายุประมาณ 11 ปี ความสามารถในการอ่านของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่เริ่มต้นเร็ว (5 ขวบ) จะมีทัศนคติต่อการอ่านหนังสือน้อยกว่า และ ทักษะในการจับใจความจะแย่กว่า
4. จากการสำรวจผลสัมฤทธิ์ ในการอ่านของเด็กอายุ 15 ปี ใน 55 ประเทศ พบว่าการเริ่มต้นเรียนเร็ว เริ่มต้นอ่านเขียนตั้งแต่เล็ก ไม่มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าเด็กๆ ได้ประโยชน์อะไรเมื่ออายุ 15 ผลที่ได้ไม่ต่างกันในเรื่องการอ่าน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ เด็กมีความกังวลใจ ความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตที่มากกว่า
5.ตัวอย่างประเทศเช่น สวีเดนหรือฟินแลนด์ ที่เริ่มต้นเรียนกันจริงจัง ในชั้นประถม เด็กๆก็มีผลการเรียนที่ดีกับสุขภาพกายและใจที่ดีด้วย
6. เวลาที่เราสอนเด็ก อ่าน เขียน คิดเลข ที่เราใช้ฝึกในเด็กอนุบาล คือ 3 ปี แต่ถ้าเรามาฝึกในชั้น ป.1 ใช้เวลาเพียง ครึ่งปี หรือ 1 ปี แล้วแต่เด็ก
7.ร่างกาย สมอง ของเด็กๆ ยังไม่พร้อมโดยเฉพาะมือ เมื่อยังไม่พร้อม เด็กก็จะเหนื่อยกว่าเดิมหลายเท่า ยิ่งบังคับกัน สารพิษในสมองก็ยิ่งหลั่ง ทั้งพ่อทั้งแม่และทั้งลูก
สุดท้ายถ้าเราเลือกไม่ได้จริง ตกเย็นกลับจากโรงเรียน สิ่งดีที่สุดคือปล่อยให้ลูกเล่น พาลูกเล่น อย่าพาไปเรียนพิเศษ ขอการบ้านน้อยๆ จากโรงเรียน (เด็กตัวแค่นี้จะเอาอะไรกันนักหนา)
ชม เชียร์ และเชื่อมั่นในตัวลูก อย่าให้อยู่แต่หน้าจอ ก็น่าจะพอช่วยได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น