สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งหลังปีใหม่ เรามาส่องเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวงการศึกษา บนสถานการณ์ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นสายพันธ์ุอัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา รวมถึงสายพันธ์ุใหม่ "Omicron" ล้วนมีอิทธิผลเปลี่ยนโลก เปลี่ยนทุกชีวิตวิถี แม้วิถีชีวิตเด็กอนุบาลก็หนีไม่พ้น
ตั้งแต่ปิดเทอมเดือนตุลาคม 2564 เป็นอีกช่วงที่สถานศึกษาต้องหาวิธีการตั้งรับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ On-Site และ Online ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนกลับมาอยู่แบบปกติมากยิ่งขึ้น
เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะที่สามารถควบคุมได้ ทั้งตัดวงจรการะบาดและการรองรับผู้ป่วยในระบบสาธารณสุข การผ่อนปรนมาตรการเปิดเรียนให้แก่เด็กแบบ On Site ในพื้นที่ที่มีความพร้อม ก็จะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก และต่อประเทศ
รมว.ศึกษา กล่าวว่า การเปิดเรียนแบบ On-site จะต้องผ่านการประเมินความพร้อมผ่าน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานการติดตามการประเมินผล ครูและบุคลากรในพื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่สีแดง จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันเปิดเรียนทั้งหมดพร้อมกันทั่วประเทศ 1 พ.ย. 64 แต่จะเปิดเรียน On-site ได้หรือไม่ โรงเรียนต้องผ่านการ ประเมินตนเอง หรือ Thai stop covid plus และ ผ่านการประเมินคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดส่วนโรงเรียนขนานเล็ก ที่มีนักเรียนห้องละไม่เกิน 25 คน สามารถเปิดเรียนได้เต็มรูปแบบ แต่ถ้าโรงเรียนไหนมีนักเรียนในห้องเกิน 25 คนอาจจะให้สลับวันเรียน online และ on-site
ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดของวิกฤติไวรัสโควิด-19 ทำให้สถานศึกษาไม่สามารถเปิดเรียนแบบ On Site ได้ตามปกติ โดยกว่า 20,000 โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเพียงประมาณ 2,000 โรงเรียนเท่านั้นสามารถเปิดเรียนแบบ ON Site คิดเป็น 10 % ของโรงเรียนทั้งหมดเท่านั้น
ข่าวมากมากในสถานศึกษาเกี่ยวกับ COVID-19 บางสถานศึกษาจึงจัดมีแบบ On Site บ้าง Online บ้าง สลับกลุ่มมาเรียนบ้าง ออนไลน์บ้าง ออนไซต์บ้าง ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมประเมินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ Online หรือ On-Site ดี ก็ใช่ว่า Online หรือ On-Site แบบไหนดีกว่า แต่ให้ดีปัจจุบันต้องมีทั้งคู่ถึงจะดี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เรียนรู้ และปรับตัวด้วยกัน นั่นคือยอดมนุษย์
จากเดือนพฤศจิกายน 2564 มาถึงเดือนมกราคม 2565 วันปีใหม่ วันเด็ก วันครู ผ่านไป สถานการณ์ COVID-19 ก็ยังเป็นเป็นหาต่อการเปิดเรียนแบบ On-Site สถานศึกษาจัดตรวจ ATK ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และ นักเรียนเข้าเข้าเรียน และสุ่มตรวจทุกสัปดาห์ ตามยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขที่วางไว้ แต่นั้นก็เหมือนจะเอาไม่ค่อยอยู่ ด้วยความแรง และ เร็ว ของสายพันธ์ุ "Omicron"
ภาครัฐก็พยายามเต็มที่ เพื่อให้เปิดเรียนได้ ล่าสุดได้เตรียมวัคซีน Pfizer สูตรสำหรับเด็กนักเรียนอนุบาล 1-3 และ ป.1-6 แต่ถึงกระนั้นปัญหาก็ใช่ว่าจะจบ ตอบโจทย์ได้ครบหรือจบในแนวคิดหรือวิถีทางเดียว ซึ่งต้องติดตาม ปรับเปลี่ยน แก้ไขกันต่อไป เช่นกัน
มีอีกหลายอย่างในวงการศึกษา ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น สนามสอบแข่งขันด้านวิชการ ทั้งภาครัฐและเอกชน Pre-Test โรงเรียน สมาคมต่างๆ รวมทั้ง ระบบรับสมัครสอบเข้าเรียน และวัดทดสอบความรู้ก่อนเข้าเรียน ล้วนยังมีปัญหาและต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน และปรับให้ได้เพื่อมิให้สะดุด เป็นไปแบบต่อเนื่อง ระบบล่มก็แก้ไข แก้ไขไม่ทันก็เลื่อน... ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา และ ปรับตัว ทดสอบระบบไม่ผ่าน ล่ม ก็เลื่อน หลายสนามสอบปรับตัวไม่ทัน ยกเลิกไปก็มีมาก โอกาสในการศึกษา พัฒนา รางวัลต่างๆ ของเด็กๆ หายไปมากพอสมควร
ทำให้ผมนึกถึงความรู้เก่าๆ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต : บูรณาการ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา: การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การปรับตัว หรือ ปรับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ชีวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ไม่ว่ามนุษย์เราๆ สัตว์ทุกสายพันธุ์ แม้กระทั่ง COVID-19 ก็คงไม่ต่างกัน...
ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ต้องปรับเปลี่ยน เรียนรู้กันต่อไปทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง รวมทั้งเด็กๆ ยุวชนรุ่นใหม่ เก่า เจนไหนๆ ก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวไปด้วยกัน ด้วยจิตใจที่ผ่องใส ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ผู้มีโอกาสมาก ช่วยคนมีโอกาสน้อย คนมีกำลังมาก ช่วยคนมีกำลังน้อย...โลกสงบสุขได้ ด้วยพรหมวิหารธรรม สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น