เพชร ประชานิเวศน์
EDUCATION PARK แลกเปลี่ยนความรู้เนื้อหาการเรียน ข้อสอบ ของนักเรียน โรงเรียนประชานิเวศน์
หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- คลังข้อสอบ อ.-ป.6
- เพชรยอดมงกุฎ
- สสวท.
- TEDET
- RT (Reading Test) ป.1
- NT (National Test) ป.3
- อนุบาล
- ข้อสอบ ป.1
- ข้อสอบ ป.2
- ข้อสอบ ป.3
- ข้อสอบ ป.4
- ข้อสอบ ป.5
- ข้อสอบ ป.6
- O-NET ป.6
- สวช.
- Pre-Test & เตรียมสอบเข้า ม.1
- ข้อสอบปลายปี โดย สทศ. สพฐ.
- ศัพท์อังกฤษ ป.1-ม.3
- สพฐ. นานาชาติ
- เสริมปัญญา
- ข้อสอบ มาตรฐานชั้นปี ป.4-6
- คลังคำ คำศัพท์ภาษาไทย เด็กประถม
- TMC + ASMO
- คณิตศาสตร์ ราชภัฏพระนคร & MEC
- ความรู้ทั่วไป
- แบบทดสอบ วิทย์ คณิต (นานาชาติ)
- ทุนส่งเสริมการศึกษา กทม.
- ผลงาน ความสำเร็จ เพชร ปน.
- เกี่ยวกับเรา
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566
2022 ปีแห่งการเรียนรู้ และปรับตัว
และแล้ว การเรียนการสอนปีนี้ ก็เดินทางมาถึงสุดท้ายปลายการศึกษา ปี 2565 ทุกครอบครัว ทุกชีวิตวิถีผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย ทั้งดีและไม่มี ล้วนเป็นประสบการณ์ที่มีความหมาย แต่เราก็ผ่านมันมาด้วยดี ยังพอมีเรี่ยวแรง มีลมหายใจให้ดำเนินชีวิตต่อไป...
ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน ปีนี้โชคดีมากเราได้กลับเข้าสู่ระบบเรียนออนไซต์ เบื้องต้นอาจขลุกขลักอยู่บ้าง แต่ท้ายที่สุดก็ลงตัวด้วยดี ได้เรียนออนไซต์เต็มเวลา แต่ก็ยังอยู่ในมาตรการความปลอดภัยจากภัยโควิด-19 กิจกรรมต่างๆ น้อยลง บางสัปดาห์ต้องส่งผลตรวจ ATK ใส่แมส แยกทาน ขยันล้างมือ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
การเรียนการสอน เทอมแรก 2565
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อที่เป็นนักเรียนและครู แต่ด้วยทุกวิถีต้องมีการเดินต่อ ในภาคส่วนการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สถานบันการศึกษา โรงเรียนต่างๆ รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ต่างมุ่งหวัง ร่วมมือร่วมใจผลักดันเดินต่อ
Learning Loss เป็นผลของการเสียโอกาสในการเรียนรู้มีผลทำให้ทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสียตามไปด้วย เช่น ทักษะทางสังคม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เด็กสูญเสียโอกาสในการฟอร์มตัวเป็นบุคลิกของเขา ว่าเขาจะเป็นอัธยาศัยดี เป็นคนเก็บตัว เป็นคนขี้อาย หรือเป็นคนมั่นใจในตัวเอง
แต่เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่มีเพื่อน ไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ไม่ได้ทำอะไรหน้าชั้นเรียน หน้าเสาธง ก็ไม่ได้แสดงความเป็นผู้นำ สุดท้ายก็จะส่งผลให้เด็กเกิดภาวะ Learning Loss เนื่องจากการเรียน Online ไม่สามารถทำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนทักษะเหล่านั้นได้
การเรียนที่บ้าน จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้ปกครองต้องช่วยกันดูแล จะว่าไปแล้วการดูแลเด็กในครอบครัวก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่แล้ว เพียงแต่ครั้งนี้ดูพิเศษกว่าครั้งไหนๆ
ถ้ามองอีกมุม นับว่านี่เป็นโอกาสที่ผู้ปกครองได้มีความสุขร่วมกับลูก เปิดโอกาสให้ได้ใช้เวลากับลูก หัวใจสำคัญคือสุขภาพจิตของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ให้เป็นเชิงบวก อย่าตั้งเป้าหมายให้เยอะเกินไป พยายามให้ลูกใช้ชีวิตประจำวันเองให้ได้เพื่อปลูกฝังทักษะชีวิตให้กับเขา เพื่อที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติในภายภาคหน้าอย่างมีคุณภาพ
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
เปิดเรียน On-Site ปีการศึกษา 2565
บรรยากาศช่วงเช้าเด็กนักเรียนเดินทางมาตั้งแต่ช่วงก่อน 6.30 น. เพื่อเข้าเรียนวันแรกในวันเปิดเทอมประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งเด็กบางส่วนได้มีผู้ปกครองเดินทางมาส่งเข้าเรียนด้วยตนเอง ทำให้การจราจรค่อนข้างติดขัดในช่วงเช้า
โดยใช้แนวทางตามมาตรการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) การตรวจคัดกรองนักเรียน บุคลากรของโรงเรียน ทุกคนก่อนมาโรงเรียน ต้องส่งผลตรวจ ATK ตามที่งานสุขอนามัยกำหนด
เมื่อเข้ามาโรงเรียน ไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองขึ้นไปส่งนักเรียนบนอาคาร กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องผ่านจุดคัดกรอง ด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ ที่สำคัญทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า จึงจะสามารถเข้าไปภายในโรงเรียนได้
นางสาวตรีนุช เทียนทอง (รมว.ศธ.) กล่าวว่าวันนี้ถือเป็นการเปิดภาคเรียนวันแรก ซึ่งเท่าที่รับรายงานโรงเรียนทุกแห่งมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเปิดเรียนแบบออนไซต์เต็มรูปแบบ พร้อมรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี และเมื่อมีการเปิดภาคเรียนไปแล้ว หากมีการติดเชื้อโควิดเกิดขึ้นจะไม่มีการสั่งปิดทั้งโรงเรียน แต่จะให้ปิดเรียนเฉพาะห้องเรียนที่มีเด็กติดเชื้อเท่านั้น โดยที่ผ่านมาการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้วางแผนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อวางมาตรการการเปิดเรียนให้มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ตนได้กำชับหน่วยงานหลักของ ศธ.
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)
เคร่งครัดปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุข
(สธ.) กำหนดอย่างเข้มงวด ไม่ว่าเป็นมาตรการ 6-6-7 สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ
และเว้นระยะห่าง เป็นต้น
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน บางสถานศึกษา ใช้รูปแบบออนไซต์ (On-site) และ ออนไลน์ (On-line) ควบคู่กันไป โดยนักเรียนทุกห้องเรียนจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อสลับวันมาเรียนที่โรงเรียน นักเรียนที่มาเรียนที่โรงเรียน จะเข้าเรียนในห้องเรียนกับครูประจำวิชา ส่วนนักเรียนที่เรียนออนไลน์ที่บ้าน เรียนกับครูประจำวิชาโดยการถ่ายทอดสดผ่าน Microsoft Teams
บางสถานศึกษาก็ใช้แบบแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม A และกลุ่ม B แล้วสลับวันกันมาเรียน ซึ่งก็เป็นการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ในเบี้องต้น หากทุกอย่างปกติก็มีแนวโน้มที่จะเปิดเรียนแบบออนไซต์แบบเต็ม 100% ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางที่ทุกภาคส่วนคาดหวังกัน ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง และ นักเรียน
ไม่ได้มาโรงเรียนนาน คิดถึงคุณครู คิดถึงเพื่อนๆ
วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565
เปิดเรียนภาคการศึกษาใหม่ OnLine or OnSite
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งหลังปีใหม่ เรามาส่องเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวงการศึกษา บนสถานการณ์ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นสายพันธ์ุอัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา รวมถึงสายพันธ์ุใหม่ "Omicron" ล้วนมีอิทธิผลเปลี่ยนโลก เปลี่ยนทุกชีวิตวิถี แม้วิถีชีวิตเด็กอนุบาลก็หนีไม่พ้น
ตั้งแต่ปิดเทอมเดือนตุลาคม 2564 เป็นอีกช่วงที่สถานศึกษาต้องหาวิธีการตั้งรับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ On-Site และ Online ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนกลับมาอยู่แบบปกติมากยิ่งขึ้น
เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะที่สามารถควบคุมได้ ทั้งตัดวงจรการะบาดและการรองรับผู้ป่วยในระบบสาธารณสุข การผ่อนปรนมาตรการเปิดเรียนให้แก่เด็กแบบ On Site ในพื้นที่ที่มีความพร้อม ก็จะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก และต่อประเทศ
รมว.ศึกษา กล่าวว่า การเปิดเรียนแบบ On-site จะต้องผ่านการประเมินความพร้อมผ่าน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานการติดตามการประเมินผล ครูและบุคลากรในพื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่สีแดง จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันเปิดเรียนทั้งหมดพร้อมกันทั่วประเทศ 1 พ.ย. 64 แต่จะเปิดเรียน On-site ได้หรือไม่ โรงเรียนต้องผ่านการ ประเมินตนเอง หรือ Thai stop covid plus และ ผ่านการประเมินคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดส่วนโรงเรียนขนานเล็ก ที่มีนักเรียนห้องละไม่เกิน 25 คน สามารถเปิดเรียนได้เต็มรูปแบบ แต่ถ้าโรงเรียนไหนมีนักเรียนในห้องเกิน 25 คนอาจจะให้สลับวันเรียน online และ on-site
ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดของวิกฤติไวรัสโควิด-19 ทำให้สถานศึกษาไม่สามารถเปิดเรียนแบบ On Site ได้ตามปกติ โดยกว่า 20,000 โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเพียงประมาณ 2,000 โรงเรียนเท่านั้นสามารถเปิดเรียนแบบ ON Site คิดเป็น 10 % ของโรงเรียนทั้งหมดเท่านั้น
ข่าวมากมากในสถานศึกษาเกี่ยวกับ COVID-19 บางสถานศึกษาจึงจัดมีแบบ On Site บ้าง Online บ้าง สลับกลุ่มมาเรียนบ้าง ออนไลน์บ้าง ออนไซต์บ้าง ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมประเมินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ Online หรือ On-Site ดี ก็ใช่ว่า Online หรือ On-Site แบบไหนดีกว่า แต่ให้ดีปัจจุบันต้องมีทั้งคู่ถึงจะดี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เรียนรู้ และปรับตัวด้วยกัน นั่นคือยอดมนุษย์
จากเดือนพฤศจิกายน 2564 มาถึงเดือนมกราคม 2565 วันปีใหม่ วันเด็ก วันครู ผ่านไป สถานการณ์ COVID-19 ก็ยังเป็นเป็นหาต่อการเปิดเรียนแบบ On-Site สถานศึกษาจัดตรวจ ATK ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และ นักเรียนเข้าเข้าเรียน และสุ่มตรวจทุกสัปดาห์ ตามยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขที่วางไว้ แต่นั้นก็เหมือนจะเอาไม่ค่อยอยู่ ด้วยความแรง และ เร็ว ของสายพันธ์ุ "Omicron"
ภาครัฐก็พยายามเต็มที่ เพื่อให้เปิดเรียนได้ ล่าสุดได้เตรียมวัคซีน Pfizer สูตรสำหรับเด็กนักเรียนอนุบาล 1-3 และ ป.1-6 แต่ถึงกระนั้นปัญหาก็ใช่ว่าจะจบ ตอบโจทย์ได้ครบหรือจบในแนวคิดหรือวิถีทางเดียว ซึ่งต้องติดตาม ปรับเปลี่ยน แก้ไขกันต่อไป เช่นกัน
มีอีกหลายอย่างในวงการศึกษา ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น สนามสอบแข่งขันด้านวิชการ ทั้งภาครัฐและเอกชน Pre-Test โรงเรียน สมาคมต่างๆ รวมทั้ง ระบบรับสมัครสอบเข้าเรียน และวัดทดสอบความรู้ก่อนเข้าเรียน ล้วนยังมีปัญหาและต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน และปรับให้ได้เพื่อมิให้สะดุด เป็นไปแบบต่อเนื่อง ระบบล่มก็แก้ไข แก้ไขไม่ทันก็เลื่อน... ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา และ ปรับตัว ทดสอบระบบไม่ผ่าน ล่ม ก็เลื่อน หลายสนามสอบปรับตัวไม่ทัน ยกเลิกไปก็มีมาก โอกาสในการศึกษา พัฒนา รางวัลต่างๆ ของเด็กๆ หายไปมากพอสมควร
ทำให้ผมนึกถึงความรู้เก่าๆ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต : บูรณาการ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา: การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การปรับตัว หรือ ปรับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ชีวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ไม่ว่ามนุษย์เราๆ สัตว์ทุกสายพันธุ์ แม้กระทั่ง COVID-19 ก็คงไม่ต่างกัน...
ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ต้องปรับเปลี่ยน เรียนรู้กันต่อไปทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง รวมทั้งเด็กๆ ยุวชนรุ่นใหม่ เก่า เจนไหนๆ ก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวไปด้วยกัน ด้วยจิตใจที่ผ่องใส ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ผู้มีโอกาสมาก ช่วยคนมีโอกาสน้อย คนมีกำลังมาก ช่วยคนมีกำลังน้อย...โลกสงบสุขได้ ด้วยพรหมวิหารธรรม สวัสดีครับ
วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564
จบภาคเรียนที่ 1 ด้วยเรียนออนไลน์
ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ในบ้านเรา "New High" อย่างต่อเนื่องจากหลักพัน สู่หลายพันถึงหลักหมื่น ข่าวสารมากมายหลายภาคส่วน เหตุการณ์มากมายเก่า-ใหม่เกิดปรากฏให้เรียนรู้และปรับตัว ผลกระทบมากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั่วไทย และ ทั่วโลก
ในภาคส่วนการศึกษาทุกระดับ ก็หนีไม่พ้นที่จะมีผลกระทบ เรียนรู้ปรับตัวกันไปประคับประคอง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป
วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ให้เวลาคุณภาพ กับ ลูก
1.ไม่มีทางเลือก เพราะใกล้บ้าน
2.ความกลัวว่าลูกจะไม่ทันเพื่อน กลัวสอบเข้าโรงเรียนดีๆไม่ได้ในชั้นประถม มัธยม เพราะกว่าจะเห็นผลต้องรอเป็นปีๆ
3.นโยบายรัฐก็สนับสนุน แต่การประเมินมันสวนทางกัน
4.ความเหลื่อมล้ำมันยังมีมาก โรงเรียนดีๆมีไม่พอ โรงเรียนใกล้บ้านก็ไม่ดี
แต่จากงานวิจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เด็กๆแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการอัดเรียนตั้งแต่เล็กๆ เมื่ออยู่ในระดับประถมปลาย แต่มันกลับส่งผลเสียในระยะยาว โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตของเด็กๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว
1.ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย(เด็กเล็ก) มากกว่า 130 คน ให้ความเห็นว่า เด็กเล็กควรเรียนแบบ Play-based เรียนรู้ผ่านการเล่น และเริ่มเรียนอ่านเขียนจริงจังกันตอน 7 ขวบ
2. ในปี 2004 มีงานวิจัยในเด็ก 3,000 คน ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ พบว่ายิ่งเราเพิ่มเวลาเล่นให้กับเด็กในวัยอนุบาล จะยิ่งเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพที่ดีมากขึ้นให้กับเด็กๆเมื่อเค้าขึ้นไปสู่ระดับประถม
3. ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีการเปรียบเทียบเด็กที่เริ่มต้นเรียนแบบจริงจัง ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ กับเด็กที่เริ่มตอนอายุ 7 ขวบ พบว่า การเริ่มต้นเร็วที่อายุน้อยไม่ได้ช่วยให้ทักษะในการอ่านของเด็กๆดีขึ้น และผลที่ได้คือเมื่ออายุประมาณ 11 ปี ความสามารถในการอ่านของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่เริ่มต้นเร็ว (5 ขวบ) จะมีทัศนคติต่อการอ่านหนังสือน้อยกว่า และ ทักษะในการจับใจความจะแย่กว่า
4. จากการสำรวจผลสัมฤทธิ์ ในการอ่านของเด็กอายุ 15 ปี ใน 55 ประเทศ พบว่าการเริ่มต้นเรียนเร็ว เริ่มต้นอ่านเขียนตั้งแต่เล็ก ไม่มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าเด็กๆ ได้ประโยชน์อะไรเมื่ออายุ 15 ผลที่ได้ไม่ต่างกันในเรื่องการอ่าน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ เด็กมีความกังวลใจ ความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตที่มากกว่า
5.ตัวอย่างประเทศเช่น สวีเดนหรือฟินแลนด์ ที่เริ่มต้นเรียนกันจริงจัง ในชั้นประถม เด็กๆก็มีผลการเรียนที่ดีกับสุขภาพกายและใจที่ดีด้วย
6. เวลาที่เราสอนเด็ก อ่าน เขียน คิดเลข ที่เราใช้ฝึกในเด็กอนุบาล คือ 3 ปี แต่ถ้าเรามาฝึกในชั้น ป.1 ใช้เวลาเพียง ครึ่งปี หรือ 1 ปี แล้วแต่เด็ก
7.ร่างกาย สมอง ของเด็กๆ ยังไม่พร้อมโดยเฉพาะมือ เมื่อยังไม่พร้อม เด็กก็จะเหนื่อยกว่าเดิมหลายเท่า ยิ่งบังคับกัน สารพิษในสมองก็ยิ่งหลั่ง ทั้งพ่อทั้งแม่และทั้งลูก
สุดท้ายถ้าเราเลือกไม่ได้จริง ตกเย็นกลับจากโรงเรียน สิ่งดีที่สุดคือปล่อยให้ลูกเล่น พาลูกเล่น อย่าพาไปเรียนพิเศษ ขอการบ้านน้อยๆ จากโรงเรียน (เด็กตัวแค่นี้จะเอาอะไรกันนักหนา)
ชม เชียร์ และเชื่อมั่นในตัวลูก อย่าให้อยู่แต่หน้าจอ ก็น่าจะพอช่วยได้ครับ